ดอกไม้ งานศพ พวงหรีด FUNERAL FLOWERS

ดอกไม้ งานศพ | Funeral flowers
ดอกไม้หน้าโลง หน้าเมรุ หน้าหีบ วัฒนธรรมการใช้ดอกไม้ในทุกวาระสำคัญของชีวิต เป็นสัญลักษณ์สากลที่มนุษย์ใช้บอกกล่าวแทนความหมายในทุกโอกาส ดอกไม้เป็นตัวแทนไมตรี ความปรารถนาดี เป็นการแสดงความเคารพอย่างงดงาม และนิยมใช้สำหรับการแสดงความอาลัย จึงเป็นประเพณีนิยม ในการใช้ดอกไม้ ประดับตกแต่ง ดอกไม้ งานศพ อาทิเช่น ดอกไม้ หน้าโลง หน้าหีบ หน้าเมรุ ส่งหรีด เป็นต้น
ประเพณีดั้งเดิมตั้งแต่สมัยโบราณ พระบรมวงศานุวงศ์ พระราชาคณะ ข้าราชการ เมื่อสิ้นพระชนม์ มรณภาพ หรือถึงแก่กรรม จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานน้ำอาบศพ และเครื่องประกอบเกียรติยศศพ เช่น โกศ หีบ เป็นต้น เมื่อถึงเวลาที่จะทำการเป็นฌาปนกิจศพ ก็พระราชทานดอกไม้ธูปเทียน และไฟหลวงไปเผาศพผู้ที่จะได้รับพระราชมานเกียรติยศ ประเพณีเกี่ยวกับศพ มักจะแตกต่างกันไปตามความนิยมของบุคคลในท้องถิ่นนั้น ๆ แต่ส่วนใหญ่คงลักษณะการประกอบพิธีไว้เป็นแนวเดียวกัน
นอกจากนำพวงหรีดมาเคารพศพแทนดอกไม้ธูปเทียนแล้ว ยังใช้เป็นเครื่องตกแต่งหน้าศพหรือ บริเวณงานศพ เนื่องจากในสมัยก่อนนั้นพวงหรีดแลเป็นของดูมีรสนิยม ทันสมัย การมีพวงหรีดในงานศพจึงสร้างความภูมิใจแก่เจ้าภาพ ช่วงที่พวงหรีดเป็นที่รู้จักในวงแคบ คงมีผู้นำมาแสดงความไว้อาลัยไม่มาก เจ้าภาพต้องจัดหาเองเพิ่มเติม หรือบางงานอาจหาเองทั้งหมด โดยพิจารณาจากพวงหรีดที่มีการตกแต่งเหมือนกัน หรือการจัดวางพวงหรีดที่ลงตัวพอดี
ประเพณีนิยมจะใช้ดอกไม้สดตกแต่งหน้าโลง หน้าเมรุ วัฒนธรรมดั้งเดิมของไทย เริ่มต้นจากการใช้ดอกไม้ธูปเทียนไปไหว้ศพ และส่วนมากใช้ดอกซ่อนกลิ่นเพราะมีสีขาวและมีกลิ่นหอมอบอวลทั่วงาน ทั้งหาได้ง่ายเพราะมีปลูกตามบ้านเรือน ดอกซ่อนกลิ่นจึงเป็นเสมือนดอกไม้ประจำงานศพ ปัจจุบันนี้มีการปรับการตกแต่งที่งดงามและซับซ้อนมากขึ้น ใช้ดอกไม้หลากหลายชนิดในการประดับตกแต่งงานศพ รวมถึงมีการประดับไฟ ของตกแต่งประกอบตามสมัยนิยม




ดอกไม้ รำลึก อนุสรณ์ สรีระสังขาร งานศพ 100 วัน | funeral flowers
การบรรจุศพ เมื่อเจ้าภาพได้บำเพ็ญกุศลครบ 3 วัน 7 วัน 50 วัน 100 วันแล้ว ยังไม่ทำฌาปนกิจ จะต้องเก็บไว้เพื่อรอญาติ รอโอกาสอันเหมาะสม ก็นิยมเก็บศพไว้ที่บ้านหรือที่วัด ระหว่างการตั้งศพนั้น เจ้าภาพอาจจัดดอกไม้ประดิษฐ์ ดอกไม้กระดาษ ตั้งประดับตกแต่งหน้าโลง เพราะสามารถตกแต่งและจัดวางประดับได้ในระยะยาว เพื่อแสดงความเคารพอย่างสมเกียรติแก่ผู้วายชนม์ รอกำหนดการฌาปนกิจศพหรือการเผาศพ







ดอกไม้ งานศพ พวงหรีด FUNERAL FLOWERS

พวงหรีด | Wreath
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน (1982, p. 587) ให้ความหมายคำว่าพวงหรีดไว้สองคำว่า ได้แก่
พวงมาลา หมายถึงดอกไม้ที่จัดแต่งขึ้นตามโครงรูปต่าง ๆ เช่นวงกลม วงรีมักมีใบไม้เป็นส่วน ประกอบด้วย สำหรับวางไว้ที่อนุสาวรีย์พระบรมรูป หรือศพ เป็นต้น เพื่อเป็นเกียรติหรือแสดงความเคารพ
พวงหรีด หมายถึงดอกไม้ที่จัดแต่งขึ้นตามโครงรูปต่างๆ เช่น วงกลม วงรีสําหรับใช้เคารพศพ
ทั้งสองคำจึงมีความหมายตามพจนานุกรมไม่ต่างกัน ใช้เพื่อวัตถุประสงค์หลายประการ เช่น เคารพศพ หรือให้เกียรติแก่ศพ โดยแยกใช้ดังนี้ พวงมาลาเป็นคำราชาศัพท์ใช้กับพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ และใช้เรียกพวงหรีด ที่บุคคลทั่วไปนำไปสักการะพระบรมรูปหรือรูปปั้นด้วย พวงหรีดเป็นชื่อเรียกที่ใช้ในหมู่สามัญชนด้วยกัน
หรีด มีต้นกำเนิดจากชาวตะวันตก ซึ่งใช้พวงหรีดทั้งในงานมงคลและงานอวมงคล เช่น การแขวนหรีดในช่วงเทศกาลคริสต์มาส เพื่อสื่อความหมายถึงความเชื่อทางศาสนาว่าวงโค้งหรือวงกลม หมายถึงการเริ่มต้นที่ไม่มีวันสิ้นสุดและพระเจ้าที่เป็นนิรันดร ใบไม้สีเขียวและของตกแต่งอื่น เช่น ถั่วลูกสน เป็นสัญลักษณ์การฟื้นคืนชีวิต และความยั่งยืนของชีวิต หากเป็นงานศพจะวางพวงหรีดที่หลุมฝังศพหรือที่หีบศพ เพื่อเป็นเครื่องหมายแสดงความเศร้าโศก เดิมทีตกแต่งพวงหรีดด้วยริบบิ้นและกระดาษตัดเป็นรูปดอกไม้ใบไม้เป็นพวงหรีดแห้ง แล้วนำไปถวายวัดเป็นที่ระลึกอุทิศให้ผู้ตาย ต่อมาได้พัฒนาพวงหรีดแห้งเป็นพวงหรีดสดด้วยการใช้ดอกไม้ใบไม้จริงมาตกแต่ง (Sathiankoset, 1939, p. 163)


“เมื่อรับหรีดเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของธรรมเนียม คนไทยมิได้ใช้ในสองวาระเช่นชาวตะวันตก แต่นำมาใช้เฉพาะในงานอวมงคลเพื่อแสดงความไว้อาลัยและหรือนำไปสักการะรูปปั้นผู้ล่วงลับ “
หรีดได้เข้ามาเสริมในส่วนเครื่องสักการะศพที่มีมาแต่อดีต มีภาพถ่ายปรากฏว่าพวงหรีดได้เริ่มใช้มาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 ด้วยในพิธีศพของไทยจะมีเครื่องสักการะตามลำดับชั้นของผู้วายชนม์ การรับเข้ามาใช้ได้ส่งผลให้ธรรมเนียมการไหว้ศพและการแสดงความไว้อาลัยต่อศพด้วยดอกไม้ธูปเทียนถูกลดความนิยมจนแทบไม่ปรากฏให้เห็น หรีดที่ตกแต่งอย่างสวยงาม มีรูปแบบชัดเจนและมีความคงทน ไม่เหี่ยวเฉาง่าย จึงเป็นที่นิยมมากขึ้น เพราะดูดีมีรสนิยมแลดูร่วมสมัยกับวัฒนธรรมฝรั่ง และยังเป็นเสมือนเครื่องนมัสการหรือเครื่องสักการะศพด้วย พวงหรีดจึงเข้ามาแทนที่และเข้ามาเสริมธรรมเนียมปฏิบัติในงานศพอย่างลงตัว ความนิยมใช้พวงหรีดจึงได้แพร่หลายในหมู่ชนชั้นสูง ก่อนจากนั้นจึงแพร่หลายสู่สามัญชน


















ปัจจุบันปริมาณการใช้หรีดเพื่อแสดงความไว้อาลัยในประเพณีงานศพของไทย ได้เป็นแนวปฏิบัติที่เป็นที่นิยมกันแพร่หลาย จำนวนหรีดจะเป็นตัวบ่งบอกสถานะและการเป็นที่รู้จักของผู้วายชนม์ หากเป็นงานศพของผู้มีชื่อเสียง (ที่ไม่งดรับหรีด) จะมีหรีดจำนวนมากจากผู้มาร่วมงาน แต่เมื่อจบงานจะกลายเป็นภาระของทางวัดที่ต้องจัดการกับปัญหาเหล่านั้น จึงมีการปรับรูปแบบหรีดให้เป็นประโยชน์มากขึ้น จากที่ใช้งานเพียงครั้งเดียวแล้วต้องทิ้งไป รูปแบบพวงหรีดในปัจจุบันจึงได้มีการพัฒนาให้ได้ใช้ประโยชน์มากขึ้น โดยการประยุกต์สิ่งของเข้าไปประกอบ หรือใช้แทนพวงหรีดเลย อาทิ พวงหรีดพัดลม พวงหรีดนาฬิกา พวงหรีดหน้ากากอนามัย พวงหรีดชุดปฏิบัติธรรม หรีดบริจาคเงินเพื่อการกุศล เป็นต้น
พวงหรีดสมัยใหม่ยังคงไว้ซึ่งการแสดงความอาลัย แต่เปี่ยมด้วยคุณค่าเป็นประโยชน์ต่อไปหลังจากจบหน้าที่ของมัน
วัฒนธรรมการส่งพวงหรีด จึงเป็นการแสดงความเคารพต่อผู้ล่วงลับในวิธีหนึ่ง ซึ่งก็มีรูปแบบที่หลากหลายให้เลือกใช้ โดยเฉพาะในช่วงที่สถานการณ์ที่ไม่อำนวยให้ไปร่วมงานศพ อย่างเช่น โควิด -19 ปี 2563 -2564 ที่ระบาดอยู่ในพื้นที่เมืองใหญ่ จึงเป็นเรื่องยากลำบากที่จะไปแสดงความเคารพ ไม่สามารถแสดงความอาลัยได้ด้วยตนเอง ดังนั้นการส่งหรีด จึงเป็นอีกวิธีการหนึ่งที่จะแสดงความเคารพได้อย่างสมเกียรติ และปลอดภัยกับทุกฝ่าย
การส่งหรีดสมัยนี้เป็นเรื่องที่สะดวกมากขึ้น เพราะมีผู้ให้บริการเปิดร้านแบบออนไลน์ บนอินเตอร์เนต ที่สามารถส่งรับข้อมูล ภาพ ตรวจสอบ อัพเดท ผ่านโทรศัพท์มือถือ ให้ความสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย เหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบัน
“วัฒนธรรมดั้งเดิมของไทย มักใช้ดอกไม้ธูปเทียนไปไหว้ศพ และส่วนมากใช้ดอกซ่อนกลิ่นเพราะมีสีขาวและมีกลิ่นหอมอบอวลทั่วงาน ทั้งหาได้ง่ายเพราะมีปลูกตามบ้านเรือน ดอกซ่อนกลิ่นจึงเป็นเสมือนดอกไม้ประจำงานศพ “
ป้ายข้อความหรีด
ธรรมเนียมของชาวตะวันตก จะแนบการ์ดข้อความ หรือนามบัตรไปพร้อมกับหรีดเพื่อแสดงความไว้อาลัย เพื่อเจ้าภาพจะได้ทราบว่าผู้ส่งคือใคร และตอบขอบคุณได้ ส่วนการเขียนชื่อผู้ส่งลงบนป้ายกระดาษแผ่นใหญ่สีขาวหรือสีดำแทนนามบัตรคาดบนพวงหรีด พึ่งเกิดในช่วงหลัง ซึ่งใกล้เคียงกับวิธีปฏิบัติของชาติอื่น เช่น เกาหลีใต้ที่รับวัฒนธรรมพวงหรีดมาใช้ทั้งงานมงคลและงานอวมงคล หากเป็นงานมงคลใช้กระดาษสีสดใส เช่น สีแดง สีชมพู หากเป็นงานอวมงคลใช้กระดาษสีขาวหรือสีดำ
ปัจจุบันมีการใช้สัญลักษณ์ หรือโลโกระบุลงในป้ายข้อความหรีดได้ ซึ่งเป็นที่นิยมตามศักยภาพของเครื่องพิมพ์ ที่สามารถพิมพ์ทั้งภาพและข้อความแทนการเขียนอย่างในสมัยก่อน
ขอบคุณเนื้อหาจาก กระทรวงวัฒนธรรม Rujirapha Ngamsakoo
” ขอความนอบน้อมของดอกไม้เหล่านี้ รับใช้ความรักที่ท่านมีต่อกัน “
พวงหรีด ดอกไม้กระดาษ
i paper art | Thai paper art | My friend in peace บริการส่ง พวงหรีด กรุงเทพฯ- ปริมณฑล
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม line id : @paperart
ไอรวีร์ บุฏดา 0926355168